ความรู้ทางวิทยาศาสตร์
เกี่ยวกับความเสื่อม, โรคเสื่อม
|
|
คำถาม:
โรคเสื่อมและความเสื่อม (แก่) เกิดจากอะไร?
|
คำตอบ:
มี 4 สาเหตุหลัก
|
-
เมื่อมนุษย์อายุเกิน
20 ปี นาฬิกาชีวิต (Telomere) ภายใน DNA ของเซลล์ทั่วร่างกาย
จะปรับเปลี่ยนรหัสคำสั่ง ไปยังต่อมใต้สมอง พิทูอิทารี่
ให้หลั่งโกรทฮอร์โมน Growth Hormone ลดลง
-
Growth Hormone คือ
ฮอร์โมนหลัก (แม่ทัพ) ภายในร่างกาย เมื่อลดลง จะทำให้ประสิทธิภาพของทุกระบบภายใน
ร่างกายทำงานลดลง (มนุษย์เริ่มแก่หลังจากอายุ 20
ปี)
-
โภชนาการที่มนุษย์ในปัจจุบันบริโภคเข้าไปไม่ครบถ้วนไม่พอเพียง
ต่อความจำเป็นของร่างกายและมีบางรายการที่เกิน ความต้องการของร่างกาย
-
อนุมูลอิสระจำนวนมาก
Free Radicals จากภายนอก และจากภายในร่างกาย ทำลายภูมิคุ้มกันของร่างกาย
|
|
เกร็ดความรู้เรื่องโกรทฮอร์โมน
|
โกรทฮอร์โมน (Growth Hormone)
คือ ฮอร์โมนหลักที่ผลิตจากต่อมใต้สมอง (Pituitary Gland)
ทำหน้าที่ควบคุมการเจริญเติบโต และการทำงานของอวัยวะทุกส่วน
ของร่างกาย การสร้างเซลล์ใหม่, การทำงานของระบบสมอง
และการทำงานของเอนไซม์ ระดับของโกรทฮอร์โมน จะลดต่ำลงเมื่อ
อายุมากขึ้น คือจะลดลง 14% ทุก 10 ปี มีผลทำให้เกิดการแก่ชรา
และโรคต่างๆ ที่เกี่ยวเนื่องกับความชรา มีผลต่อการลดลงของสมรรถนะ
และการเคลื่อนไหวของร่างกายอย่างรวดเร็ว ดังนั้นการเพิ่มโกรทฮอร์โมน
เป็นหนทางการเพิ่มความอ่อนเยาว์ และคืนความกระชุ่มกระชวย
ให้กับร่างกาย
|
|
ผลของโกรทฮอร์โมน
|
ต่อต้านความชรา
|
นายแพทย์ Ronald klatz
ประธาน The American
Academy of Anti-Aging Medicine ผู้แต่งหนังสือชื่อ
"Grow Young with HGH" ระบุในหนังสือว่า "ปัจจุบันเราสามารถทำให้คนหนุ่มหรือ
สาวขึ้นได้ถึง 10-20 ปี ในอดีตความแก่ชราถือว่าเป็น
สัจธรรมของชีวิต คือ ทุกคนต้องแก่ แต่ในปัจจุบันนักวิทยาศาสตร์
การแพทย์ถือว่า ความแก่เป็นโรคชนิดหนึ่งที่ สามารถรักษาได้"
โกรทฮอร์โมนถือเป็นปัจจัยที่
สำคัญที่ทำให้ชีวิตยืนยาว
|
|
นายแพทย์ Edmund Chein
กล่าวว่าโกรทฮอร์โมน
เป็นสารฮอร์โมนชนิดเดียวที่สามารถชะลอความชราภาพ
ได้อย่างเป็นรูปธรรม
|
|
โกรทฮอร์โมน
ทำงานอย่างไร?
|
Dr. Grace Wong กล่าวว่า
เมื่อเราอายุมากขึ้นระดับ
ของโกรทฮอร์โมนจะลดลง 14% ในทุกๆ 10 ปี ทำให้การ
สร้างเอนไซม์โปรทีเอส อินฮิบิเตอร์ (Protease Inhibitor)
ซึ่งเป็นเอนไซม์ที่ช่วยปกป้องไม่ให้โปรตีนในร่างกาย
เราถูกทำลายและเกิดอนุมูลอิสระ (Free Radicals) เพิ่มมากขึ้นดังนั้นหากโปรตีนในเซลล์ถูกทำลาย
ในระดับผิวเซลล์จะก่อให้เกิดผนังเซลล์เหี่ยวย่น ผิวหนังจะเหี่ยวย่น
และถ้าเซลล์ถูกทำลายในระดับนิวเคลียสจะทำให้เกิดโรคร้ายแรงต่างๆ
เช่น โรคความดันโลหิตสูง โรคอ้วน โรคมะเร็ง โรคหลอดเลือดหัวใจ
อุดตัน โรคเบาหวาน โรคความจำเสื่อม โรคกระดูกพรุน เป็นต้น
|
|
กรอบความคิดสำคัญระหว่าง
อาหาร : สุขภาพ
|
|
I. ตามกฎแห่งวิทยาศาสตร์
สุขภาพ
|
ร่างกายมนุษย์จะเป็น ปกติ
เมื่อพลังงานที่รับเข้าไปต้อง = พลังงานที่ร่างกายต้องการ
|
Energy Intake = Energy
Output
|
ท่านทราบไหมว่า ร่างกายมนุษย์สามารถ
เผาผลาญน้ำตาลฟรุคโคส
ได้เพียงวันละ 8 กรัม (1 ช้อนชาพูน) เท่านั้น หรือเผาผลาญน้ำตาลซูโครส
(น้ำตาลทราย) ได้เพียงวันละ 16 กรัม เท่านั้น
ดังนั้นหากท่านทานอาหาร, เครื่องดื่มในแต่ละวัน ที่มีน้ำตาลฟรุคโตส
มากกว่า 8 กรัม หรือ ซูโครส (น้ำตาลทราย) มากกว่า 16
กรัม (2 ช้อนชาพูน) อะไรจะเกิดขึ้น ?
|
น้ำตาลส่วนเกินในกระแสเลือด
จะถูกแปรสภาพไปเป็น ไตรกลีเชอไรด์ (Triglycerides) ซึ่งเป็นไขมันส่วนเกิน
ไปพอกและเกาะตัวตาม ผนังภายในหลอดเลือด
|
II.
ตามกฎแห่งวิทยาศาสตร์ชีวะเคมี |
ขบวนการที่เกิดขึ้นภายในแต่ละเซลล์ของร่างกายล้วนประกอบด้วย
3 ขั้นตอน
|
Input (วัตถุดิบ)
-> Process (ย่อย,ดูดซึม,เผาผลาญ,ขนส่ง) ->
Output (พลังงานสำหรับเซลล์)
|
2.1 เมื่อร่างกายเริ่มเสื่อมลง
อันเนื่องจากอายุ หรือ ภยันตรายจาก อนุมูลอิสระ
ขบวนการย่อย, ดูดซึม, เผาผลาญ, ขนส่ง (Process)
จะหย่อนสมรรถภาพลงทำให้พลังงานสำหรับ เซลล์ทั่วร่างกาย
(Output) ได้รับไม่เพียงพอ (ก่อให้เกิด ความเสื่อม)
และมีขยะพิษตกค้างในร่างกาย (ก่อให้เกิด ภูมิต้านทาน
อ่อนแอ และโรคเสื่อมต่างๆ ติดตามมา)
|
2.2 ไขมันเป็นอาหารที่ร่างกายต้องใช้
ออกซิเจน O2 เป็นเชื้อเพลิงในการเผาผลาญ (เรียกขบวนการนี้ว่า
อ๊อกซิเดชั่น Oxidation) ปริมาณมาก และทุกครั้งที่
เกิดขบวนการ Oxidation จะเกิดอนุมูลอิสระออกซิเจนมาก
ทำให้เป็นโทษภัย ต่อร่างกาย กล่าวอีกอย่างคือ
ไขมันเป็นอาหารที่ก่อให้เกิด อนุมูลอิสระภายในร่างกายได้มากที่สุด
|
|
III.
ตามศาสตร์แห่งโภชนาการ |
You Are What
You Eat
|
กินอะไร ร่างกายก็จะเป็นอย่างนั้น
|
ดังนั้น
กินน้ำตาลมาก ร่างกายก็จะมีไขมันมาก อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
ดังนั้น กินอาหารที่เกิดขยะตกค้างในร่างกาย สุขภาพก็กลายเป็นขยะ |
|
บริโภคอาหารไม่ครบหมู่
, ได้แร่ธาตุและวิตามินไม่พอเพียง
|
|
ที่มาของโรคเสื่อม
|
เช่น โรคหัวใจ
และหลอดเลือด, มะเร็ง, เบาหวาน, ความดันโลหิตสูง,
ไขข้ออักเสบ, สมองเสื่อม, ภูมิคุ้มกันอ่อนแอ, ภูมิแพ้,
พาร์คินสัน, ต้อกระจก, แก่ก่อนวัย, ริ้วรอยเหี่ยวย่น |
- บริโภคไขมันมากเกินไป
(ขบวนการเผาผลาญไขมันต้องใช้ออกซิเจน O2 เป็น
เชื้อเพลิง ทำให้เกิดปฏิกิริยา ออกซิเดชั่น
Oxidation
หากมีมากเกินไป จะทำให้เกิดอนุมูลอิสระจำนวนมาก)
- บริโภคอาหารที่ผ่านการทอดด้วยน้ำมันเดือดๆ
เช่น ปาทองโก๋, มันฝรั่งทอด, ขาหมูทอด (ความร้อนสูง
ทำให้ ไขมันภายในน้ำมันกลายสภาพ เป็น อนุมูลอิสระ)
- ดื่มน้ำน้อย, ทานชา-กาแฟมากเกินไป
(ทำให้ร่างกายยิ่งสูญเสียน้ำ)
- ระบบการขับถ่ายเสื่อมถอย
ทำให้เกิดพิษสะสมภายใน ลำไส้,ตับ,ไต
- ระบบการเผาผลาญอาหารทั้ง 3
หมวด
(คาร์โบไฮเดรต, โปรตีน, ไขมัน) ลดลง
(50% ของไขมันส่วนเกินจะสะสมภายในชั้นใต้ผิวหนัง
และอีก 50% จะสะสมภายในหลอดเลือด
และอวัยวะสำคัญภายในร่างกาย)
- บริโภคน้ำตาลมากเกินไป
(ทำให้เกิดไขมันสะสมภายในร่างกาย)
- บริโภคอาหารที่ไม่มีเส้นใย,
ไม่มีกาก
(ทำให้เหลือสารพิษตกค้างในลำไส้ใหญ่)
- บริโภคอาหาร เครื่องดื่ม ที่ปนเปื้อน
ด้วย ยาฆ่าแมลง, ยาปราบวัชพืช, ปุ๋ยเคมี (ทำให้มีสารพิษเข้าไปทำลายเม็ดเลือดขาว
และอวัยวะภายในร่างกาย)
- ดื่มแอลกอฮอล์, สูบบุหรี่
(ทำให้มีพิษต่อตับ, ปอด, หลอดเลือด)
- ขาดการออกกำลังกาย
- ความเครียด
- ระบบการย่อย - ดูดซึมอาหารลดลง
(ร่างกายได้รับสารอาหารบางตัวลดลง การดูดซึมของแร่ธาตุ
เช่น แคลเซี่ยม ภายใน
ลำไส้ลดลง)
- ร่างกายเมื่ออายุเกิน 20 ปี
จะมีการสร้างโกรทฮอร์โมนลดลง มีผลให้
ระบบฮอร์โมนอื่นๆ, ระบบเอ็นไซม์, ระบบ
ต่างๆ ทั่วร่ายกายทำงานลดลง
|
|