Thai Synergy Group
หน้าแรก
NEWS
ความรู้เกี่ยวกับความเสื่อม
HEALTH
อาหารเสริม
FIBER
FISH OIL
CANCER1
CANCER2
ELDER
 
 
 
 
 
 
 
 
ติดต่อเรา

บทความเกี่ยวกับโรค และ อาหารเสริมต่างๆ

+ สาเหตุที่คนเราสุขภาพไม่ด
+ โรคมะเร็ง
+ โรคหัวใจ
+ โรคเบาหวาน
+ โรคอ้วน
+ ภาวะไขมันในเลือดสูง
+ โรคกระดูกเสื่อม ปวดข้อ ปวดเข่า



:: สาเหตุที่คนเราสุขภาพไม่ดี ::
สาเหตุหลักมาจากการโภชนาการที่บกพร่อง และระบบดูดซึมอาหารของร่างกาย ทำงานอย่างไม่มีประสิทธิภาพ ทำให้ร่างกายดูดซึมสารอาหารเข้าไปใช้ได้อย่างเต็มที่ ถึงแม้เราจะทานอาหารปริมาณมากก็ตามแต่ เนื่องจากว่าอาหารที่เรารับประทานเข้าไปนั้น ไม่มีคุณค่าทางโภชนาการตามที่ร่างกายต้องการ ซึ่งส่วนใหญ่อาหารที่ทานนั้นจะมีแต่แป้ง และไขมันเป็นส่วนมาก เมื่อร่างกายไม่ได้รับสารอาหารที่ต้องการ ประสิทธิภาพการทำงานของร่างกายจะทำงานเสื่อมสภาพลงเรื่อยๆ ปัญหารสุขภาพต่างๆ ไม่ว่า โรคอ้วน โรคผอม ไม่แข็งแรง ปวดหัว เบาหวาน โรคหัวใจ ไขมันในเส้นเลือด ความดัน และอื่นๆ เป็นผลมาจาก การที่ร่างกายไม่ได้รับสารอาหารที่เพียงพอ และถูกต้อง อีกอย่างหนึ่ง คือ ระบบดูดซึมที่ทำงานไม่มีประสิทธิภาพ เนื่องจากในลำไส้ของเรานั้น จะมีสิ่งสกปรกสะสมอยู่ตามผนังลำไส้ ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้ระบบดูดซึมทำงานได้เพียง 30-50% เท่านั้น หากเรารับประทานอาหารเข้าไป 100% ร่างกายของเราสามารถนำไปใช้ได้เพียง 50% เท่านั้น ดังนั้นเราจะได้รับสารอาหาร ที่ไม่ครบถ้วนตามที่ร่างกายต้องการอย่างแน่นอน จึงเป็นผลทำให้ร่างกายไม่สามารถทำงานเต็มประสิทธิภาพ อย่างที่ควรจะเป็น

ดังนั้น เราควรจะหาผลิตภัณฑ์ที่สามารถแก้ไขในเรื่องระบบดูดซึมของคุณ เพื่อให้คุณสามารถใช้สารอาหารที่คุณทานได้อย่างมีประสิทธิภาพเต็มที่ ถ้าคุณสามารถหาผลิตภัณฑ์ที่แก้ปัญหาต่างๆ เหล่านี้มาทานได้ สุขภาพของคุณจะดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัด จะรู้สึกสดชื่นขึ้น ระดับพลังงานเพิ่มขึ้น ที่สำคัญ ปัญหาสุขภาพที่มีอยู่ ไม่ว่าจะเป็น โรคความดันสูง โรคไขมันในเส้นเลือด เบาหวาน หอบ หืด ภูมิแพ้ ปวดหลัง กระเพาะ ฯลฯ จะดีขึ้นจนสังเกตเห็นได้อย่างชัดเจน...


go to top>>
:: โรคมะเร็ง ::

มะเร็ง คือ เซลล์ทีเปลี่ยนสภาพไปเป็นเนื้อร้าย เติบโตและขยายตัวในหลอดเลือด และน้ำเหลือง กระจายไปยังอวัยวะอื่น ๆ ในร่างกาย ซึ่งหากเป็นส่วนที่สำคัญ เช่น ปอด ตับ สมอง ก็จะทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตในเวลาอันรวดเร็ว โดยมีสารเคมีที่เรียกว่า คาร์ซิโนเจน (Carcinogen) เป็นตัวแปรสำคัญ ที่ทำให้โครโมโซมในนิวเคลียสของเซลล์ผิดปกติไป จนกลายเป็นมะเร็งที่มีการแบ่งตัวขยายออกไปเรื่อย ๆ

มะเร็งสามารถเกิดได้ที่อวัยวะใดบ้าง เซลล์ร้ายตัวนี้ สามารถเกิดได้ เกือบทุกส่วนของร่างกาย แต่ที่พบมากได้แก่

- มะเร็งเต้านม พบมากที่สุดอันดับหนึ่งของผู้หญิง สามารถถ่ายทอดได้ทางพันธุกรรม ฮอร์โมนที่ผิดปกติ ความอ้วน อาหารที่รับประทานมีไขมันสูง การลุกลามของมะเร็ง จากอวัยวะอื่นมายังเต้านม ป้องกันได้ด้วยการตรวจเป็นประจำ ด้วยแพทย์หรือตนเอง

- มะเร็งปากมดลูก เชื่อว่าเกิดจากเชื้อไวรัส HPV (Human Papilloma Viruses) การตรวจหามะเร็งชนิดนี้ควรตรวจหลังหมดประจำเดือน 1 สัปดาห์ และควรงดการมีพศสัมพันธ์ 24-48 ชั่วโมง ก่อนการตรวจ

- มะเร็งผิวหนัง มักพบในผู้สูงอายุในวัย 40-50 ปีขึ้นไป ปัจจัยที่ก่อให้เกิดมะเร็งผิวหนัง ได้แก่ แสงแดด หรือแสงอุลตร้าไวโอเลต บริเวณของผิวหนังจะเกิดความผิดปกติ เช่น ก้อนตุ่มเล็ก ที่เริ่มขยายวงกว้างออกไป หรือโตขึ้นเรื่อย ๆ ดังนั้นหากเป็นแผลที่ผิวหนัง และไม่หายภายใน 2 สัปดาห์ ควรปรึกษาแพทย์เพื่อรักษาให้หายขาด

- มะเร็งปอด เกิดจากความสกปรกของอากาศ รังสี สารเคมีที่ปนเปื้อนในบรรยากาศ การสูบบุหรี่จัดเป็นเวลานาน แผลเรื้อรังในปอด สังเกตได้จากอาการไอเป็นระยะเวลานาน น้ำหนักลด เบื่ออาหาร เจ็บคอเจ็บหน้าอก เสียงแหบ หายใจลำบาก กลืนอาหารลำบาก เหล่านี้ล้วนส่ออาการเริ่มต้นของมะเร็งปอดทั้งสิ้น การวินิจฉัยสามารถทำได้ ด้วยการเอ๊กซเรย์ปอด และลดปัจจัยเสี่ยงของการเกิดมะเร็งปอดได้ด้วยการงดสูบบุหรี่

- มะเร็งตับ ไม่มีสาเหตุที่ชัดเจน แต่ลุกลามขยายผลได้จากไวรัสตับอักเสบชนิดบี ในรายที่เป็นพาหะ ในระยะเริ่มต้นของมะเร็งชนิดนี้ ผู้ป่วยจะไม่มีอาการ จนกระทั่ง ก้อนมะเร็งเริ่มโต จนผู้ป่วยเริ่มอึดอัด ท้องบวม เบื่ออาหาร น้ำหนักลด สามารถตรวจพบได้ ด้วยการอุลตร้าซาวด์ (Ultrasound) ซึ่งจะพบได้ต่อเมื่อ ก้อนมีขนาดตั้งแต่ 1 ซม.ขึ้นไป

:: อาการเริ่มต้น ::
1. ก้อนเนื้อ ตุ่มบนหรือใต้ผิวหนัง เต้านม ริมฝีปาก อวัยวะอื่น ๆ ในร่างกาย
2. หูด ปาน ที่ผิดปกติ
3. แผลเรื้อรัง
4. ตกขาว โลหิต หรือเมือกผิดปกติที่ออกทางช่องคลอดมาก
5. ไอ เสียงแหบ โดยที่ไม่ได้เป็นหวัด และหาสาเหตุไม่ได้
6. เบื่ออาหาร ร่างกายผ่ายผอมอย่างรวดเร็ว กลืนอาหารลำบาก เจ็บคอ
7. ระบบการขับถ่ายผิดปกติเป็นเวลานาน


:: ข้อแนะนำ ::
1. หมั่นตรวจร่างกายเป็นประจำทุกปี และอย่าลืมบอกสิ่งผิดปกติที่เกิดขึ้นกับร่างกายให้แพทย์ทราบ เพื่อให้การวินิจฉัยที่จะบ่งชี้การเกิดโรคได้ดียิ่งขึ้น
2. หากบุคคลในครอบครัวเคยเป็นมะเร็ง โอกาสเสี่ยงย่อมมากกว่าคนอื่น ดังนั้น ควรใส่ใจดูแลสุขภาพให้มาก หลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงที่เร่งการก่อมะเร็ง
3. เลือกรับประทานอาหารที่มีสารต่อต้านอนุมูลอิสระสูง โดยเฉพาะวิตามินเอ ซี อี และเบต้าแคโรทีน พร้อมทั้งลดอาหารจำพวกหมัก ดองต่าง ๆ ลงด้วย
4. งดหรือลดเครื่องดื่มแอลกอฮอลล์
5. กรณีที่น้ำหนักตัวเกินมาตรฐาน ควรลดน้ำหนักลงให้อยู่ในเกณฑ์ที่ควรจะเป็น
6. หยุดสูบบุหรี่ ตัวการของโรคหลายชนิด
7. ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
8. หลีกเลี่ยงแสงแดด ถ้าจำเป็นต้องทำงานกลางแจ้ง ควรปกป้องผิวด้วยการทาครีมกันแดดที่มีสาร SPF 25 ขึ้นไป
9. หลีกเลี่ยงมลภาวะเป็นพิษ เช่น ยาฆ่าแมลง ควันจากโรงงานอุตสาหกรรม
10.สังเกตสิ่งผิดปกติที่เกิดกับร่างกายหรือตุ่มเนื้อ สิว ไฝ ปาน ว่าลุกลาม ขยายขนาดอย่างต่อเนื่องหรือไม่

go to top>>

:: โรคหัวใจ ::
คำว่า “โรคหัวใจ” เป็นคำที่กว้างมาก ฟังดูน่ากลัวมากสำหรับผู้ป่วย ในความเป็นจริงแล้วโรคหัวใจแบ่งย่อยออกได้มากมายหลายชนิด ความรุนแรง และความจำเป็นในการรักษาก็แตกต่างกัน ดังนั้นหากคุณหมอบอกท่านว่าท่านเป็นโรคหัวใจ ท่านควรจะทราบ รายละเอียดเกี่ยวกับความเจ็บป่วย ของท่านมากขึ้น ว่าท่านเป็นโรคหัวใจชนิดใด เกิดจากอะไรและมีแนวทางการรักษาอย่างไร
เราอาจแบ่งชนิดของโรคหัวใจคร่าวๆได้ดังนี้

โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด ชื่อก็บอกอยู่แล้วว่าเป็นมาตั้งแต่เกิด บางครั้งวินิจฉัยได้แต่แรกคลอด แต่บางครั้งก็ไม่มีอาการใดๆ จนกว่าจะอายุมากก็มี ความผิดปกตินี้อาจเกิดขึ้นกับทุกส่วนของหัวใจ เช่น หลอดเลือดหัวใจ ลิ้นหัวใจ ผนังกั้นห้องหัวใจ หรือ ตัวห้องหัวใจเอง มีสภาพไม่สมบูรณ์ เหมือน บ้านที่สร้างไม่เสร็จ มีรอยโหว่ รู้รั่ว ประตูปิดไม่ดี น้ำท่วม เป็นต้น ส่วนใหญ่แล้วเรา ไม่ทราบสาเหตุที่ชัดเจน เชื่อว่าการติดเชื้อไวรัสและการได้รับสารเคมี เช่น ยาบางชนิดระหว่างตั้งครรภ์อ่อนๆอาจมีส่วนเกี่ยวข้อง ความผิดปกติเหล่านี้หลายอย่างสามารถผ่าตัดแก้ไขได้ แต่บางครั้งก็ทำอะไรไม่ได้

โรคกล้ามเนื้อหัวใจ กล้ามเนื้อหัวใจทำงานผิดปกติไม่ว่าจะบีบ หรือ คลายตัว กล้ามเนื้อหัวใจหนากว่าปกติ เป็นต้น โรคที่พบบ่อย คือ กล้ามเนื้อหัวใจเสีย เนื่องจากความดันโลหิตสูงที่ไม่ได้รับการรักษามานาน กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด หรือ กล้ามเนื้อหัวใจตาย บางส่วน เนื่องจากหลอดเลือดหัวใจตีบหรือตัน เป็นต้น ยังมีโรคของกล้ามเนื้อหัวใจบางชนิดที่ไม่ทราบสาเหตุ (อาจเกิดจากการ ติดเชื้อไวรัส) ทำให้กล้ามเนื้อหัวใจบางและบีบตัวอ่อนกว่าปกติมาก การรักษาโรคของกล้ามเนื้อหัวใจนี้ อาศัยการแก้ไขที่สาเหตุ เช่น ขยายหลอดเลือดหัวใจ ผ่าตัดบายพาส ส่วนหากไม่ได้ผลหรือเป็นกลุ่มที่ไม่มีสาเหตุ การรักษาสุดท้ายคือการผ่าตัดเปลี่ยนหัวใจ

โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคหัวใจขาดเลือด เป็นโรคกลุ่มเดียวกัน เพราะหลอดเลือดหัวใจจะนำเลือดไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจ เมื่อหลอดเลือด ผิดปกติจะทำให้กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด การทำงานจึงผิดปกติ โรคของหลอดเลือดหัวใจอาจเกิดจากหลายสาเหตุ แต่ที่พบบ่อยที่สุด เกิดจากการสะสม ของไขมันที่ผนัง ทำให้หลอดเลือดหัวใจตีบและตันในที่สุด (ไม่ใช่มีก้อนไขมันในเลือดลอย ไปอุดตัน ตามที่เข้าใจกัน)

โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ กลุ่มนี้มีหลายชนิดมาก บางชนิดไม่เป็นอันตราย บางชนิดอันตรายมาก (ส่วนใหญ่ของกลุ่มที่ร้ายแรง มักมีความผิดปกติ ของกล้ามเนื้อหัวใจ หลอดเลือดหัวใจด้วย) สาเหตุเกิดจากระบบไฟฟ้าในหัวใจทำงานผิดปกติไป เช่น มีจุดกำเนิด ไฟฟ้าแปลกปลอมขึ้น หรือ เกิดทางลัด (เรียกง่ายๆว่า ไฟช็อต) ในระบบ เป็นต้น

ทั้งหมดนี้เป็นการจัดกลุ่มใหญ่ๆซึ่งในความเป็นจริงแล้วมีรายละเอียดปลีกย่อยอีกมาก แต่จะเห็นว่าผมไม่กล่าวถึง “โรคหัวใจอ่อน” “โรคประสาทหัวใจ” “โรคหัวใจโต” เลย เพราะความจริงแล้ว ไม่มีโรคนี้ ขอเน้นอีกครั้งว่า โรคหัวใจอ่อน และ โรคประสาทหัวใจ ไม่ใช่โรคหัวใจ ส่วนใหญ่เกิดจากความกังวล ส่วนหัวใจโตนั้นเป็นภาวะมากกว่าที่จะเป็นโรค และ ต้องทราบ ว่าสาเหตุที่หัวใจโตนั้น เกิดจากโรคอะไร คำว่าหัวใจโตเฉยๆจึงไม่มีความหมายใดๆ

go to top>>

:: โรคเบาหวาน ::

โรคเบาหวาน เป็นภาวะที่ร่างกายมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่าปกติ เกิดขึ้นเนื่องจากการขาดฮอร์โมนอินซูลิน หรือ ประสิทธิภาพของอินซูลินลดลงจากภาวะดื้อต่ออินซูลิน

ปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวาน

เกิดจากกรรมพันธุ์ (มีพ่อแม่ หรือ ญาติ เป็นโรคเบาหวาน)
เป็นโรคอ้วน
ไม่ออกกำลังกาย
เคยตรวจพบระดับน้ำตาลในเลือดสูงผิดปกติ แต่ยังไม่ถึงเกณฑ์ที่จัดเป็นเบาหวาน
เป็นโรคความดันโลหิตสูง (ความดันโลหิตมีค่าตั้งแต่ 140/90 มิลลิเมตรปรอทขึ้นไป)
ระดับไขมันในเลือดผิดปกติ (เอช ดี แอล โคเลสเตอรอลมีค่าน้อยกว่า หรือเท่ากับ 35 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร และ/หรือไตรกลีเซอไรด์มีค่ามากกว่าหรือเท่ากับ 250 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร

หลักการรักษาโรคเบาหวาน
การใช้ยาลดระดับน้ำตาลในเลือด

1. ยารักษาเบาหวานชนิดรับประทาน
2. อินซูลิน

การดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคเบาหวาน

1. การบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพที่ดี
2. การออกกำลังกาย

การบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพที่ดี

ผู้ป่วยโรคเบาหวานควรรับประทานอาหารที่มีทั้งชนิด และปริมาณที่เหมาะสม ตรงตามเวลาอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้ได้รับสารอาหารเพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย และพลังงานที่สมดุลกับการใช้แรงงาน และยาที่แพทย์กำหนดให้ ซึ่งมีผลต่อการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดรวมถึงน้ำหนักตัว ความดันโลหิต และระดับไขมันในเลือด ที่มักพบว่ามีความผิดปกติร่วมกันกับความผิดปกติของระดับน้ำตาลในเลือดด้วย ผู้ป่วยโรคเบาหวานทุกคนจึงควรให้ความสนใจ และพยายามทำความเข้าใจเกี่ยวกับการเลือกชนิด และปริมาณอาหารที่เหมาะสม ผู้ป่วยโรคเบาหวานควรทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ ให้เหมาะสมกับความต้องการของร่างกาย ผู้ป่วยสามารถเปลี่ยนอาหารได้หลากหลายเพื่อหลีกเลี่ยงความซ้ำซากจำเจ และให้มีความสุขในการรับประทานอาหารมากขึ้น โดยสลับเปลี่ยนหมุนเวียนในอาหารหมู่เดียวกัน ในปริมาณที่มีพลังงานเทียบเท่ากัน

หมายเหตุ
ควรเลือกอาหารที่มีใยอาหารสูง
ควรหลีกเลี่ยงผลไม้เชื่อม ผลไม้กวน ผลไม้ดอง ผลไม้บรรจุกระป๋อง ผลไม้สดที่มีเครื่องจิ้ม
ควรหลีกเลี่ยงนมที่มีการปรุงแต่งรสทุกชนิด และเครื่องดื่มประเภทโอวัลติน ไมโล และโกโก้ที่มีส่วนผสมของน้ำตาล
ควรหลีกเลี่ยงอาหารที่มีไขมันอิ่มตัว และโคเลสเตอรอลสูง เช่น ไขมันสัตว์ กะทิ น้ำมันมะพร้าว

go to top>>

:: โรคอ้วน ::
โรคอ้วน เป็นโรคที่เกี่ยวข้องตรงไปตรงมากับปัญหาโภชนาการเกิน เพราะท่านคงจะไม่ปฏิเสธว่า คนเราอ้วนเพราะรับประทานอาหารเข้าไปในร่างกายมากกว่าที่ร่างกายจะใช้หมด การเผาผลาญพลังงานของแต่ละคนจะไม่เท่ากัน ดังนั้นท่านคงจะเปรียบเทียบไม่ได้ว่า ท่านทานอาหารน้อย ทำไมจึงอ้วน เพื่อนของท่านทานมากกว่าแต่ไม่อ้วน

องค์การอนามัยโลก ได้ประมาณไว้ล่าสุดว่า ปัจจุบันมีพลโลกที่อ้วนมากถึง 300 ล้านคน และอาจเพิ่มขึ้นอีกเท่าตัวใน 20 ปีข้างหน้า สาเหตุเนื่องจากการปรับเปลี่ยนของ นิสัยการกินอยู่ วิถีชีวิต และการงาน ถือเป็นโรคภัยใหญ่ที่สุดของศตวรรษ

จากน.ส.พ.ไทยรัฐ พฤหัสบดีที่ 7 มิถุนายน 2544

ความอ้วน ทำให้มีความเสี่ยงมากขึ้น ดังนี้

- อายุขัยสั้นกว่าคนน้ำหนักปกติ 10% - 100%
- เบาหวานมากกว่าคนปกติ 7 เท่า
- ความดันโลหิตสูงมากกว่าคนปกติ 3 เท่า
- นิ่วในถุงน้ำดี 2-3 เท่าของคนปกติ
- โรคหัวใจ และโรคไตเพิ่มขึ้น
- โรคปอดเพิ่มขึ้น
- เวลาจะผ่าตัด ก็มีอัตราเสี่ยงสูงขึ้น

คนอ้วนจะมีโอกาสเกิดโรคภัยไข้เจ็บได้ง่ายหลายโรคด้วยกัน ได้แก่ โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคนิ่วในถุงน้ำดี โรคหัวใจขาดเลือด โรคไต มะเร็ง โรคกระดูกและข้อเสื่อม ก่อนวัยอันสมควร อัมพาต ระบบหายใจผิดปกติ โรคผิวหนัง โรคภูมิแพ้ เส้นเลือดขอด หยุดหายใจระหว่างนอนหลับ โรคโคเลสเตอรอลสูงในเลือด โรคไตรกลีเซอร์ไรด์สูงในเลือด และที่สำคัญได้มีผู้ศึกษาพบว่า คนที่อ้วนโดยมีดัชนีความหนาของร่างกายเกิน 30 กิโลกรัม ต่อตารางเมตร มีโอกาสตายก่อนวัยอันสมควรสูงกว่าคนทั่วไปถึง ร้อยละ 30


ปัจจุบัน การจะบอกว่าใครอ้วน เรานิยมใช้การคำนวณดัชนีความหนาของร่างกาย ซึ่งมีค่าเท่ากับน้ำหนักตัวเป็นกิโลกรัม หารด้วย ส่วนสูงเป็นเมตรยกกำลังสอง ถ้าหากค่าที่ได้อยู่ระหว่าง 20-24 .9 ถือว่าน้ำหนักอยู่ในเกณฑ์ปกติ ถ้าได้มากกว่า 25 ถือว่าเริ่มอ้วน สมมุติว่าท่านมีน้ำหนัก 60 กิโลกรัม สูง 1 เมตร 60 เซ็นติเมตร ให้เอา 60 หารด้วย 1.6 ยกกำลังสอง ค่าดัชนีความหนาของร่างกายที่ได้คือ 23.4 กิโลกรัมต่อตารางเมตร แสดงว่าท่านไม่อ้วน

ท่านได้ทราบพิษภัยของโรคอ้วนแล้ว ถ้าท่านไม่เชื่อท่านลองมองไปรอบๆ ตัวท่าน ญาติพี่น้อง เพื่อนฝูงของท่านมีใครอ้วนบ้าง คนเหล่านี้มีปัญหาอะไรบ้าง คนที่เจ็บป่วยบ่อยๆ คนที่ไปพบแพทย์เป็น คนที่ต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล คนเหล่านี้มีคนอ้วนอยู่กี่คน

สิ่งต่างๆ เหล่านี้จะเป็นอุทาหรณ์ ให้ท่านระมัดระวังในการใช้ชีวิต โดยเฉพาะอย่างยิ่งการบริโภคอาหารในชีวิตประจำวัน

go to top>>

:: ภาวะไขมันในเลือดสูง ::
เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดโรคหลอดเลือดตีบตัน เราสามารถควบคุม และป้องกันไม่ให้เกิดโรคนี้ได้ การเริ่มป้องกันหรือรักษาตั้งแต่อายุประมาณ 35-40 ปี จะช่วยลดการเกิดโรคหัวใจและโรคอัมพาตได้อย่างมาก


การปฏิบัติตนเพื่อลดปริมาณไขมันโคเลสเตอรอลในเลือด

1. การควบคุมอาหาร
อาหารที่ควรหลีกเลี่ยง
• คาร์โบไฮเดรต (แป้งขัดขาว)
• น้ำตาล ขนมหวาน
• เกลือ
• โปรตีนจากสัตว์
• ไขมันจากสัตว์ ได้แก่ มันปละหนังสัตว์
• อาหารที่มีคลอเลสเตอรอลสูง เช่น ไข่แดง ปลาหมึก กุ้ง และเครื่องในสัตว์
• นิโคติน
• แอลกอฮอล์


อาหารที่ควรรับประทาน
• วิตามิน
• แร่ธาตุต่างๆ
• โปรตีนจากพืช
• กรดอะมิโนที่จำเป็นต่อร่างกาย
• กรดไขมันที่จำเป็นต่อร่างกาย
• ใยอาหาร
• สมุนไพร
• น้ำสะอาด

คำแนะนำ ควรปรุงอาหารด้วยวิธีการนึ่ง ต้ม ยำ อบ ในกรณีที่ปรุงอาหารด้วยน้ำมันและการทอดเจียว ควรเลือกใช้น้ำมันพืช เช่น น้ำมันมะกอก น้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันข้าวโพด น้ำมันรำข้าว น้ำมันเมล็ดทานตะวัน


2. การออกกำลังกาย



การออกกำลังกายช่วยลดปริมาณไขมันในเลือดและเพิ่มระดับ เอ็ช ดี แอล แต่จะต้องเป็นการออกกำลังกายที่สม่ำเสมอ ทำต่อเนื่องครั้งละ 10-30 นาที วันละอย่างน้อย 30 นาที อย่างน้อยสัปดาห์ละ 3-4 ครั้ง


การออกกำลังกายที่ดีที่สุด กิจกรรมการออกกำลังกายที่จะเพิ่มสมรรถภาพของปอดและหัวใจ ได้แก่ การเดิน จ๊อกกิ้ง เต้นรำ ขี่จักรยาน ว่ายน้ำ เต้นแอโรบิค รำมวยจีน รำกระบอง

go to top>>

:: โรคกระดูกเสื่อม ปวดข้อ ปวดเข่า: :
ข้อเข่า ทำหน้าที่เกี่ยวกับการเคลื่อนไหวของร่างกาย เช่น ยืน เดิน วิ่ง กระโดด โดยจะรับน้ำหนักของร่างกายทั้งหมด รวมทั้งรับแรงกดจากการหดตัวของกล้ามเนื้อรอบๆ เข่าตลอดเวลา เมื่อมีการเคลื่อนไหวของข้อเข่า ไม่ว่าจะนั่ง ยืน เดิน ก็ทำให้เกิดการเสียดสีของกระดูกข้อเข่า ข้อเข่าจึงมีโอกาสเสื่อมสภาพ จะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับอายุ เพศ น้ำหนัก และการใช้งานของข้อเข่าของแต่ละคน

ปัจจัยที่ก่อให้เกิดอาการข้อเสื่อม


อายุ ผู้ที่อายุ 40 ปีขึ้นไป ส่วนใหญ่จะมีอาการปวดเข่า แต่อาจพบได้ในผู้ที่อายุน้อยกว่า 40 ปี หากมีน้ำหนักตัวมาก หรือมีประวัติการใช้ข้อเข่ามาก เช่น นักกีฬา เป็นต้น

ส่วนใหญ่เป็นในผู้หญิงสูงอายุ ซึ่งปล่อยให้น้ำหนักตัวมากเกินไป และมักทำงานที่ต้องงอเข่าอยู่เป็นประจำ


น้ำหนัก ส่วนใหญ่ผู้ที่อ้วน และมีน้ำหนักเกินมาตรฐาน ซึ่งสามารถคำนวณคร่าวๆ ได้โดย ความสูง (ซ.ม.) ลบ 100 (สำหรับผู้ชาย) และ ความสูง (ซ.ม.) ลบ 110 (สำหรับผู้หญิง) เท่ากับน้ำหนักเฉลี่ยในคนนั้นๆ


การใช้งาน ผู้ที่มีประวัติการใช้งานข้อเข่ามากๆ หรือมีประวัติการบาดเจ็บบริเวณเข่า โดยเฉพาะนักกีฬา ข้อเข่าจะมีโอกาสเสื่อมได้เร็วกว่าคนทั่วไป



หลักการปฏิบัติตนของผู้ที่มีอาการของโรคข้อเข่าเสื่อม หรือเพื่อมิให้ข้อเข่าเสื่อมเร็วกว่าที่ควร


1. ลดน้ำหนักตัว ในกรณีที่อ้วน หรือระวังไม่ให้น้ำหนักตัวมากเกินไป
2. หลีกเลี่ยงการใช้เข่าในท่าที่มีการกดของกระดูกภายในเข่ามากๆ เช่น นั่งคุกเข่า นั่งขัดสมาธิ นั่งพับเพียบ นั่งยองๆ การยืนนานๆ การยกของหนัก ฯลฯ
3. ควรบริหารข้อเข่าอย่างสม่ำเสมอ เพราะจะช่วยให้กล้ามเนื้อรอบๆ ข้อเข่าแข็งแรง ทำให้ข้อเข่ากระชับ เคลื่อนไหวได้ดี


ข้อแนะนำสำหรับผู้มีอาการปวดเข่า


1. ในระยะแรก ควรพักข้อเข่าไว้ก่อน อย่าเพิ่งลงน้ำหนักมากที่ข้อเข่าข้างที่ปวด
2. ใช้ผ้ายืดแบนเดจพันรอบๆ ข้อเข่าให้กระชับ จะช่วยลดการเสียดสีของข้อเข่าได้
3. เมื่ออาการปวดเข่าทุเลาลง ให้เริ่มบริหารข้อเข่าอย่างสม่ำเสมอ วันละ 2 ครั้ง คือตอนเช้า และก่อนนอน
4. ไม่ควรให้เข่าอยู่ในท่าใดท่าหนึ่งนานๆ เช่น ยืนเป็นเวลานาน
5. ปรึกษาแพทย์หากอาการไม่ดีขึ้น


go to top>>

 

เวบผู้ผลิตผลิตภัณฑ์
เวบของSynergy World Wide
@2003 Thai Synergy Group
All Rights Reserved
more detail please call 06-7085280 PUI